การเรียนการสอนทางไกล
__
ความเป็นมา
_____เดือนธันวาคม
ปี พ.ศ. 2538 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์
ติดตั้งอุปกรณ์ระบบการเรียนการสอนทางไกล(Video Conferencing
System) เพื่อให้บริการภายในมหาวิทยาลัย ระหว่างวิทยาเขตบางเขน
กับวิทยาเขตกำแพงแสน ในการให้บริการการเรียนการสอน การประชุม
การสัมมนา และกิจกรมมพิเศษของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
_____เดือนมกราคม
ปี พ.ศ. 2541 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ระบบการเรียนการสอนทางไกล โดยโครงการพัฒนาวิทยาเขตสารสนเทศ
ภายใต้การลงทุนและกำกับดูแลของสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
ทบวงมหาวิทยาลัย หรือ UniNet (Inter-University Network)
_____วันที่
20 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2543 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการพิธีเปิดระบบการเรียนการสอนทางไกลอย่างเป็นทางการ
ณ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ โดยได้รับการเชื่อมโยงสัญญาณระหว่างวิทยาเขตบางเขน
วิทยาเขตศรีราชา และวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
__
การให้บริการ
_____สำนักบริการคอมพิวเตอร์มีห้องถ่ายทอดที่สามารถให้บริการได้พร้อมกันจำนวน
2 ห้องเรียน โดยถ่ายทอดสัญญาณต้นทาง ณ ห้องสตูดิโอ สำนักบริการคอมพิวเตอร์
_____ส่วนของการการถ่ายทอดสัญญาณนำเข้าข้อมูล(Input
source) สามารถให้บริการสื่อสัญญาณได้หลายรูปแบบ เช่น
สัญญาณคอมพิวเตอร์ สัญญาณวีดีโอ สัญญาณเสียง สัญญาณภาพอ่านจากเอกสาร
หรือแผ่นใส
_____ส่วนของการใช้งานในรูปแบบของการประชุมสัมมนานั้น
ระบบสามารถใช้งานได้ในตำแหน่งต่างๆ คือ ห้องประชุมสุธรรมอารีกุล
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ห้องอเนกประสงค์ศูนย์มหาวิทยาลัยวิทยาเขตกำแพงแสน
วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร และวิทยาเขตศรีราชา
__
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ติดตั้งระบบถ่ายทอดการประชุมผ่านเครือข่าย
_____มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ติดตั้งระบบถ่ายทอดการประชุมผ่านเครือข่าย
(Video Conferencing System) ระหว่างวิทยาเขตบางเขน
กับวิทยาเขตกำแพงแสนเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 เพื่อให้บริการการเรียนการสอน
การประชุม การสัมมนาระหว่างวิทยาเขต การติดตั้งระบบดังกล่าวมีจุดรับส่งสัญญาณ
3 จุดคือ
- อาคารศูนย์เรียนรวม
วิทยาเขตกำแพงแสน
- ห้องประชุม 101
สำนักบริการคอมพิวเตอร์
- ห้องประชุม อาคารวิทยบริการ
ต่อมาในเดือนมกราคม
พ.ศ. 2541 ทบวงมหาวิทยาลัยได้ติดตั้งอุปกรณ์รับส่งสัญญาณตามโครงการพัฒนาวิทยาเขตสารสนเทศ
ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาเพิ่มเติมอีก
1 จุดคือ
- ห้อง 1404 อาคารเรียนรวม
วิทยาเขตศรีราชา
_____ระบบที่ติดตั้งเพิ่มเติมนี้ทำให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สามารถเชื่อมโยง
การถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียง กับมหาวิทยาลัยอื่นๆได้กว่า
20 แห่ง
_____ในปี
2543 ทบวงมหาวิทยาลัยได้ติดตั้งอุปกรณ์รับส่งสัญญาณตามโครงการพัฒนาวิทยาเขตสารสนเทศ
ให้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อีก 2 จุดคือ
- ห้องฝึกอบรม 104 สำนักบริการคอมพิวเตอร์
- ห้องเรียนทางไกล
อาคารบริหาร วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร
- เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน
พ.ศ. 2543 ศ. ดร. ธีระ สูตะบุตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดำเนินการพิธีเปิดระบบการเรียนการสอนทางไกลอย่างเป็นทางการ
ณ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ โดยสามารถเชื่อมโยงสัญญาณทั้ง
4 วิทยาเขตคือวิทยาเขตบางเขน วิทยาเขตกำแพงแสน วิทยาเขตศรีราชา
และวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ได้โดยพร้อมเพรียง
_____ในเดือนมิถุนายน
2544 สำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้ติดตั้งอุปกรณ์รับส่งสัญญาณเพิ่มเติมอีก
2 จุด คือห้องเรียนรวม วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร
และห้องเรียนอาคารกิจกรรมนิสิต วิทยาเขตบางเขน โดยใช้เงินงบประมาณของวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ
จ.สกลนคร เพื่อขยายการเรียนการสอนทางไกลระหว่างวิทยาเขตบางเขน
และวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนครได้พร้อมกันสองห้องเรียนในเวลาเดียวกัน
และต่อมาได้ย้ายจุดรับส่งสัญญาณ ห้องเรียนอาคารกิจกรรมนิสิตมาติดตั้งที่ห้อง
105 สำนักบริการคอมพิวเตอร์
-
ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีจุดรับส่งสัญญาณในระบบทั้งสิ้นจำนวน
8 จุดคือ
-
วิทยาเขตบางเขน
|
- ห้อง
101 สำนักบริการคอมพิวเตอร์
- ห้อง 104
สำนักบริการคอมพิวเตอร์
- ห้อง 105
สำนักบริการคอมพิวเตอร์
- อาคารสารนิเทศ
50 ปี
|
วิทยาเขตกำแพงแสน
|
- ห้องเธียร์เตอร์
อาคารศูนย์มหาวิทยาลัย
|
วิทยาเขตศรีราชา
|
- ห้อง
1404 อาคารเรียนรวม
|
วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ
จ.สกลนคร
|
- ห้องการเรียนการสอนทางไกล
1-411 อาคารบริหาร
- ห้องการเรียนการสอนทางไกล
2-302 อาคารเรียนรวม
|