หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ
พระช่วงเกษตรศิลปการ หลวงอิงคศรีกสิการ
สามเสือเกษตร
"สามเสือเกษตร" เป็นฉายาที่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
ใช้เรียกแทน บุคคลทั้ง ๓ คือ
หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ หลวงอิงคศรีกสิการ และพระช่วงเกษตรศิลปการ
ด้วยท่านเหล่านี้ล้วนมีคุโณปการ ต่อวงการเกษตร และ ต่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เป็นอย่างยิ่ง ดังปรากฎในชีวประวัติ ของท่านทั้งสามโดยสังเขป
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
"สามทหารเสือแห่งการเกษตร"
*
คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ คุณหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ และคุณหลวงอิงคศรีกสิการคือ
สามทหารเสือแห่งเกษตร ผู้วางรากฐานการเกษตร และการศึกษาด้านเกษตรศาสตร์
ของประเทศไทย ทั้งสามท่านได้ร่วมกันทำงาน และผลที่มีต่อประเทศชาติก็ไม่สามารถ
แบ่งแยกออกจากกันได้
เมื่อ พ.ศ. 2482 คุณพระช่วงฯ
เป็นอธิบดีกรมเกษตร คุณหลวงสุวรรณฯ เป็นผู้อำนวยการ
วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน สังกัดกรมเกษตร คุณหลวงอิงคฯ
เป็นหัวหน้าสถานีทดลองเกษตรกลาง บางเขน คุณหลวงอิงคฯ
เป็นผู้รับผิดชอบดูแลการสร้างคันดินที่กั้นน้ำรอบบริเวณเกษตรกลาง
บางเขน พ.ศ. 2482
ข้าพเจ้ายังได้มาช่วยดูแลการล้มคันนาในบริเวณเกษตรกลางนี้
พ.ศ. 2489-2501 คุณหลวงสุวรรณฯ เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คุณพระช่วงฯ เป็นคณบดีคณะเกษตร และในที่สุดได้เป็นอธิการบดี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระหว่าง 15 เมษายน พ.ศ. 2501-1 สิงหาคม
พ.ศ. 2508
และระหว่าง 21 พฤศจิกายน 2510-30 เมษายน 2512 รวมเวลาทั้งสิ้น
8 ปี 8 เดือน 27 วัน
ในด้านการเตรียมคนสำหรับงานด้านเกษตรนั้น ทหารเสือทั้งสามได้ส่งนักเรียน
ไปเรียนปริญญาตรีทางการเกษตรที่มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ด้วยทุน
ก.พ.
เมื่อ พ.ศ. 2478 จำนวน 6 คน ต่อมา นายกมล ชาญเลขา นายทวี ญาณสุคนธ์
นายอรุณ ทรงมณี และนายประเสริฐ ณ นคร 4 คน ได้มาเป็นอาจารย์อยู่ที่
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่วนนายภักดี ลุศนันท์ อยู่กรมเกษตร
นายเอี่ยน ขัมพานนท์ อยู่โรงงานยาสูบ
กำลังคนทางด้านวิชาการเกษตรนับว่าขาดตอนไปอย่างน่าเสียดายจากรุ่นสามทหารเสือ
เว้นระยะเกือบสิบปีจึงมีรุ่น นายจรัด สุนทรสิงห์ นายจักร โชติศาลกร
นายประโยชน์ บุรณศิริ
และนายเริ่ม บูรณฤกษ์ ต่อมาอีกประมาณ 10 ปี จึงมี ม.ร.ว.จักรทอง
ทองใหญ่
นายพนม สมิตานนท์ หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ นายก่าน
ชลวิจารณ์
ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล และรุ่นทุน ก.พ. 6 คน ที่กล่าวถึงข้างต้น
ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาที่จะรับตำแหน่งบริหารชั้นสูงของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จึงไปกราบเรียนคุณหลวงอิงคฯ ขอ ม.จ.จักรพันธ์ฯ มารับตำแหน่งนั้น
โดยอ้างว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขาดบุคลากรจริงๆ แม้ว่ากรมเกษตร
ก็ขาดบุคลากรทางวิชาการอยู่อย่างมากเช่นกัน แต่คุณหลวงอิงคฯ
ก็ใจกว้างพอที่จะสละกำลังอันสำคัญมาช่วยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
และในที่สุด ม.จ.จักรพันธ์ฯ ได้ทรงเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ก่อนหน้าที่จะมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สามทหารเสือได้เปิดสถานี
ทดลองเกษตรตามภาคต่างๆ และจัดการสอนการเกษตรในโรงเรียน
ฝึกหัดครูประถมกสิกรรม และโรงงานฝึกหัดครูมัธยมกสิกรรม
ทำให้ได้กำลังคนมาช่วยงานด้านปฏิบัติการแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เป็นต้นว่านายกวี วิสุทธารมณ์ นายแทน อิงคสุวรรณ นายโกสินทร์
สายแสงจันทร์
นายสม เสมรสุต ฯลฯ ...
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
* ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร