[ : KPS Campus : ][ : SRC Campus : ][ : ChalermpraKait : ][ : Supanburi Campus : ][ : Lopburi Campus : ][ : Krabi Campus : ]
:: ข้อมูลทั่วไป ::
:: การบริหาร ::
:: วิชาการ ::
:: งานวิจัย ::
:: หน่วยงาน ::
:: วิธีการเข้าศึกษาใน มก. ::
:: สำหรับสินิต ::
:: สำหรับบุคคลากร ::
:: ข่าวและกิจกรรม ::
:: สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ::
:: นานาสาระ ::
:: เสียงสู่อธิการบดี ::
:: สำนักหอสมุด ::
:: เกษตรศาสตร์ของเรา ::

 

หน้าแรก > งานวิจัย > เรือเหาะก๊าซฮีเลียมไร้คน

เรือเหาะก๊าซฮีเลียมไร้คน

รศ.ดร.ปองวิทย์ ศิริโพธิ์

ประวัติความเป็นมา

เน€เธฃเธทเธญเน€เธซเธฒเธฐ เธซเธฃเธทเธญ Airship เป็นอากาศยานที่ถูกพิสูจน์แล้วว่ามี ประสิทธิภาพและความสามารถในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการขนส่ง การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา การสำรวจ การเฝ้าสังเกตการณ์ และทางการทหาร ที่ถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา และแม้กระทั่งในญี่ปุ่น ในส่วนของงานโฆษณา งานเฝ้าสำรวจ การเฝ้าสังเกตการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานทางด้านการทหารจะสามารถประยุกต์ ให้ได้รับผลประโยชน์อย่างสูง จากประสิทธิภาพและความสามารถของเรือเหาะ มากกว่า 90% ของ เรือเหาะ จะเป็นชนิดที่เรียกว่า men-on-board Airship ซึ่งมักจะมีขนาดใหญ่ มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูง ซึ่งเป็นอุปสรรค อย่างหนึ่งของ เรือเหาะ ในปัจจุบันด้วยวิทยาการของคนไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ในปีงบประมาณ 2536 ให้ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศยาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัยเรื่อง การออกแบบและสร้างเรือเหาะแก๊สฮีเลียมไร้คน ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวงเงินสนับสนุน 1,409,300 (หนึ่งล้านสี่แสนเก้าพันสามร้อยบาทถ้วน) จนปัจจุบันงานวิจัยดังกล่าวได้เสร็จสมบูรณ์ ประสบความสำเร็จเป็นที่เรียบร้อย สามารถพัฒนาและออกแบบ Airship ควบคุมโดยวิทยุที่มีประสิทธิภาพได้ทัดเทียม หรือดีกว่า Airship ที่จำเป็นต้องมีนักบิน และมีขนาดใหญ่มากกว่า 25 เมตร ได้เป็นผลสำเร็จ

เธฃเธฒเธขเธฅเธฐเน€เธญเธตเธขเธ”

สำหรับเรือเหาะ-อาภากร ที่ได้พัฒนาขึ้น มีความยาวของลำตัวในขนาดตั้งแต่ 8 เมตร จนถึง 25 เมตร ซึ้งในทุกแบบมีความสามารถที่จะทำการบินได้ในระยะความสูง ตั้งแต่ 50 เมตร จนถึง 100 เมตร หรือมากกว่า มีอัตราของการร่วงหล่นน้อยมากหรือไม่มีเลย การระเบิดหรือการเกิดเพลิงไหม้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากเป็นแก๊สที่ใช้เป็นฮีเลียมแก๊ส จึงไม่ติดไฟ และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ลำตัวของ เรือเหาะ-อาภากรได้พัฒนาขึ้น โดยพิจารณาถึงการขยายตัวของลำตัว เรือเหาะ เมื่อทำการบินขึ้น ในที่ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลมากๆ ดังนั้นลำตัวจึงถูกออกแบบให้เป็นแบบ Double Safety Design เรือเหาะ-อาภากรนี้สามารถบินหรือขับเคลื่อนไปได้ทุกสถานที่ และใช้พื้นที่ในการขึ้นลงน้อยกว่า อากาศยานไร้คน หรือไม่ไร้คนชนิดอื่นในอัตรา 1:10
การนำเรือเหาะ-อาภากร บินขึ้นหรือลงจะพื้นใช้พื้นที่ในรัศมีเพียง 100 เมตร เพลิงที่ใช้ในการทำงานมีเพียง 2 ส่วน คือในส่วนของแก๊สอีเลียมซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งที่ทำให้เรือเหาะแก๊สฮีเลียมไร้คน รักษารูปร่างรูปทรงของยาน และทำหน้าที่เป็นตัวซึ่งก่อให้เกิดแรงยกในเรือเหาะให้สามารถลอยอยู่ในอากาศได้ ส่วนของเครื่องยนต์สามารถเลือกใช้เครื่องยนต์ได้ในหลายรูปแบบ แบบเครื่องยนต์ไฟฟ้าเพื่อลดความดังของเสียง หรือเป็นเครื่องยนต์ใช้น้ำมันธรรมดา สำหรับในภารกิจที่ไม่มีข้อกำหนดในเรื่องของเสียง ซึ่งเครื่องยนต์ประเภทหลังนี้จะทำให้ เรือเหาะฯ สามารถทำงานได้ต่อเนื่องมากกว่า 10 ชั่วโมง ปัจจุบันแก๊สฮีเลียมสามารถหาซื้อได้ภายในประเทศหรือการหาซื้อไม่มีความยุ่งยากแต่อย่างไร และราคาต่อหน่วยมีราคาถูกลงมากในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา

Main Function
Additive Load 45.7kg
Cruise Speed 18 km/h
Maximum Speed 45 km/h
Range at Normal Cruise 42 Hours
Length 8-25 m
Width 2-4 m
Engine Parts
Horse Power 2hpx2ea
2 Stroke Type
Air cooled
Propellers: Two blade fixed pitch
Propellers case included
Envelope Parts
Material: Poly Urethane Coated Polyamide
Envelope Surface 48.3 m3
Envelope Color: White
Filling GAS: Helium
Gondola
Material: Duralumin
TRVS construction
Landing Gear: Included
- Option
Camera System

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ด้านการเกษตร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสำรวจดูแลผลผลิตทางการเกษตร รวมไปถึงการดัดแปลงประยุกต์ใช้เป็นอุปกรณ์เพื่อกำจัดศตรูพืชที่สามารถควบคุมได้ง่ายและมีผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติภารกิจน้อยที่สุด
2. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ใช้ในการตรวจสอบป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร สามารถช่วยในการวางแผน การควบคุมดูแล และการทำแผนที่
3. ด้านการป้องกันภัยธรรมชาติ สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ติดตาม ควบคุม และบัญชาการปฏิบัติการเกี่ยวกับภัยพิบัติ เช่น ไฟป่า อุทกภัย และวาตภัย
4. ด้านการควบคุมและบัญชาการจราจร
5. ด้านการคมนาคมและการสื่อสาร สามารถนำมาประยุกต์เพื่อติดตั้งอุปกรณ์ส่งถ่ายทอดสัญญาณในรูปต่าง ๆ ได้
6. ด้านการทหารและป้องกันประเทศ ใช้ในการตรวจการณ์ลาดตระเวน หรือตรวจจับวัตถุระเบิดที่อยู่ใต้น้ำเป็นต้น

อนาคต

อุปกรณ์ต่างๆ สามารถนำขึ้นไปกับ เรือเหาะฯ จะทำได้หลายแบบตามแต่ภารกิจต่างๆ ที่ผู้ใช้จะนำไปใช้ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการถ่ายรูป โดยการติดกล้องโทรทัศน์ การติดอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ และการทดลองต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศอากาศ สามารถใช้เป็นสถานี รับ-ส่งสัญญา หรือเสาอากาศเคลื่อนที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภารกิจทางด้านการทหาร ในภูมิประเทศที่ระบบสื่อสารภาคพื้นดินปกติ มีประสิทธิภาพน้อยลง เนื่องจากภูมิประเทศ เช่น ในหุบเขา หรือพื้นที่ที่อับต่อสัญญา เรือเหาะ สามารถทำหน้าที่ เป็นเสาอากาศเคลื่อนที่ สามารถทำการบินเข้าไปในพื้นที่ ลอยตัวขึ้นเพื่อให้สูงกว่าภูมิประเทศ ที่ถูกบดบังสัญญาสามารถเคลื่อนตัว และหาตำแห่งที่เหมาะสมในการส่งหรือรับสัญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

Kasetsart University of Thailand
หน้าแรก || ค้นหาข้อมูล || ติดต่อ
Copyright (C) 2002. Kasetsart University
Revised : June, 2002
Contact WebMasTeR of Kasetsart University