การศึกษากลไกลของปฏิกิริยา selecive
oxidation
ของ methane ในตัวเร่งปฏิกิริยา Fe-ZSM-5
ดร.พิบูลย์ พันธุ
การเปลี่ยน
methane ให้เป็นสารเคมีที่มีประโยชน์เป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีประโยชน์มาก
เพื่อการนำแก๊สธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แต่เนื่องจาก methane เป็นสารที่มีความเสถียรและไม่ว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยา
ทำให้การเปลี่ยน methane เป็นสารที่มีประโยชน์
เช่น methanol, ethylene, หรือน้ำมันเชื้อเพลิงมีข้อจำกัดที่
conversion/selectivity ต่ำ เมื่อไม่นานนี้ได้มีการศึกษาพบว่า
Fe-exchanged-zeolites เธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ– oxidize
methane เป็น methanol ได้ที่อุณหภูมิห้องโดยใช้
N2O เป็น oxidant ซึ่งคล้ายกับสมบัติของเอ็นไซม์
Methane Monooxygenase ที่สามารถเปลี่ยน
methane เป็น methanol ได้ที่อุณหภูมิห้อง
ตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดนี้เป็นที่น่าสนใจมาก
เพราะพันธะ C-H ของ methane มีความแข็งแรงมาก
ซึ่งปกติแล้วจะต้องใช้อุณหภูมิสูง
(~500?C) เพื่อทำให้เกิดการ activate
พันธะนี้ แต่ในสองระบบนี้ปฏิกิริยา
C-H bond activation สามารถเกิดขึ้นได้ที่อุณหภูมิห้อง
ในขณะนี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจว่าปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
และเกิดขึ้นที่ active site แบบไหน
การที่จะนำตัวเร่งปฏิกิริยานี้มาใช้ประโยชน์จำเป็นที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจกลไกการเกิดปฏิกิริยา
และปัจจัยที่มีผลต่อปฏิกิริยาอย่างละเอียด
โครงการวิจัยนี้จะทำการศึกษาโครงสร้างของ
active site ของตัวเร่ง
ปฏิกิริยาชนิดนี้และกลไกของการเกิดปฏิกิริยา
selective oxidation ของ methane
โดยใช้วิธีทาง Computational Chemistry
(Embedded Electronic Structure Theory)
ควบคู่ไปกับการศึกษาทดลองในห้องปฏิบัติการซึ่งจะทำให้การศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
|