[ : KPS Campus : ][ : SRC Campus : ][ : ChalermpraKait : ][ : Supanburi Campus : ][ : Lopburi Campus : ][ : Krabi Campus : ]
:: ข้อมูลทั่วไป ::
:: การบริหาร ::
:: วิชาการ ::
:: งานวิจัย ::
:: หน่วยงาน ::
:: วิธีการเข้าศึกษาใน มก. ::
:: สำหรับสินิต ::
:: สำหรับบุคคลากร ::
:: ข่าวและกิจกรรม ::
:: สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ::
:: นานาสาระ ::
:: เสียงสู่อธิการบดี ::
:: สำนักหอสมุด ::
:: เกษตรศาสตร์ของเรา ::

 

หน้าแรก > งานวิจัย > รูปแบบการแสดงออกของ Ten-a Ten-m ในระยะเริ่มต้น


รูปแบบการแสดงออกของ Ten-a Ten-m ในระยะเริ่มต้น
การพัฒนาของระบบประสาทส่วนกลางในแมลงหวี่

ผศ.ดร.เลิศลักษณ์ เงินศิริ

Ten-a และ Ten-m เป็นโปรตีนที่พบในแมลงหวี่ (Drosophila melanogaster) โปรตีนเหล่านี้เป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่มโปรตีน Ten-m (Ten-m family) จากการย้อมสีตัวอ่อนแมลงหวี่ด้วยแอนติบอดี 2 ชนิด คือ แอนติบอดี Ten-a และแอนติบอดี Ten-m พร้อมกัน พบว่า โปรตีนทั้งสองจะเริ่มปรากฏในเส้นประสาท (axon) ที่จะรวมกันเป็น commissure ของประสาทส่วนกลาง (CNS) ในตัวอ่อนระยะ 12 ในระหว่างการพัฒนาของ commissure Ten-a จะพบในส่วน anterior commissure ส่วน Ten-m จะปรากฏในส่วน posterior commissure (รูปที่ 1 A,B,C) ในตัวอ่อนระยะ 16 โปรตีนทั้งสองจะปรากฏร่วมกันในประสาทส่วนกลางทั้งหมด (รูปที่ 1 D) จากรูปแบบการปรากฏของโปรตีนสองชนิด เป็นไปได้ว่าโปรตีนทั้งสองมีบทบาทในการกำหนดว่าเส้นประสาทใดจะผ่านส่วน anterior เส้นใดจะผ่านส่วน posterior ของ commissure เพื่อทดสอบข้อสมมุติฐานดังกล่าว เราใช้เทคนิคที่เรียกว่า double stand RNA interference (dsRNAi) ในการศึกษาหน้าที่ของยีน ten-a และ ten-m การทดลองยังอยู่ในระหว่างดำเนินการที่ห้องวิจัยของ Dr. Stefan Baumgartment ในศูนย์วิจัยทางการแพทย์ของมหาวิทยาลัย Lund ประเทศสวีเดน

รูปที่ 1 แสดงตำแหน่งของโปรตีน ten-a (สีน้ำตาล-ลูกศรขาว) และ ten-m (สีฟ้าลูกศรดำ)
        ที่ศูนย์รวมเส้นประสาท (commissures) ในปลายระยะที่ 12 ของการพัฒนาของตัวอ่อน

A. แหล่งรวมประสาทที่มี axon มาสัมผัส โปรตีนทั้งสองมีตำแหน่งชิดกัน ten-a อยู่ด้าน posterior และ ten-m อยู่ด้าน anterior
B. การแยกออกของศูนย์รวมประสาท ระยะห่างของโปรตตีนมากกว่ารูป A แต่การแสดงออกของโปรตีนยังจำกัดอยู่ในตำแหน่งเดิม
C. ในขณะศูนย์รวมประสาทมีการพัฒนาแยกจากกันมากขึ้น การแสดงออกของโปรตีนยังคงจำกัดอยู่ในตำแหน่งเดิม แต่เริ่มเห็นในตำแหน่งอื่น ๆ ด้วย ดังเช่นในระยะการพัฒนาที่ 13-14 ของตัวอ่อน
D. ในระยะการพัฒนาที่ 16 โปรตีน ten-a และ ten-m กระจายสม่ำเสมอด้านหัวจะเห็นโปรตีนทั้งสองชนิดแยกกัน ten-m แสดงออกที่มัดประสาทด้าน posterior (ลูกศร) ของศูนย์รวมประสาท

 

Kasetsart University of Thailand
หน้าแรก || ค้นหาข้อมูล || ติดต่อ
Copyright (C) 2002. Kasetsart University
Revised : June, 2002
Contact WebMasTeR of Kasetsart University