การวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน :
หุ่นจำลองจากยางพารา
รศ.ดร.อภินันท์
สุประเสริฐ
ความสำคัญและที่มา
ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย
ซึ่งสามารถส่งออกในรูปของยางดิบในอันดับหนึ่งของโลกมานับตั้งแต่ปี
2534 ถึงปัจจุบัน น้ำยางดิบที่ผลิตได้เฉลี่ย
2.2 ล้านตัน/ปี ส่งออกโดยตรง 2 ล้านตัน
คิดเป็นมูลค่า 56,000 ล้านบาท ที่เหลืออีก
0.2 ล้านตัน ถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง
ๆ คิดเป็นมูลค่า 35,000 ล้านบาท ดังนั้นหากสามารถวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปยางพาราให้มากขึ้นเป็น
30 % ของน้ำยางดิบที่ผลิตได้จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มมากกว่าแสนล้านบาท
สื่อการเรียนการสอนรูปหุ่นจำลองที่ใช้กันในปัจจุบันผลิตจากสารสังเคราะห์พลาสติกเหลว
ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่
การนำสารธรรมชาติยางพารามาทดแทนพลาสติกเหลวประดิษฐ์
เป็นสื่อการเรียนการสอนรูปหุ่นจำลอง เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราแล้ว
ยังเป็นการสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เนื่องจากหุ่นจำลองจากยางพาราเป็นสื่อราคาประหยัด
ไม่เป็นพิษ นุ่มนิ่ม น้ำหนักเบา มีความเหมาะสมกับการศึกษาด้วยตนเอง
เป้าหมายของการศึกษา
เพื่อสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ในรูปของหุ่นจำลองอวัยวะคนและสัตว์จากยางพารา
สร้างมูลค่าเพิ่มให้ยางไทย สนับสนุนการปฏิรูปการศึกษา
ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง
|
|
หัวใจมนุษย์
(1 ชุด มี 2 ชิ้น)
ขนาด 16x10 ซม.
| โครงสร้างบริเวณเชิงกราน
มนยุษย์แสดงระบบขับถ่ายปัสสาวะ
ขนาด 34x24 ซม. |
|
|
ผิวหนังมนุษย์
ขนาด 17x27 ซม.
| แบบจำลองอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ (โค)
ขนาด 44x33 ซม. |
|
|
แบบจำลองอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย (โค)
ขนาด 45x30 ซม.
| อวัยวะระบบทางเดินอาหารม้า
ขนาด 30x40 ซม. |
|
|
ไตมนุษย์
ขนาด 21x28 ซม.
| ตับโค |
มดลูกระยะตั้งครรภ์พร้อมทารกในครรภ์
(1 ชุด มี 3 ระยะ 4,5-6, และ 8 เดือน)
ขนาด 28x30 ซม.
|