[ : KPS Campus : ][ : SRC Campus : ][ : ChalermpraKait : ][ : Supanburi Campus : ][ : Lopburi Campus : ][ : Krabi Campus : ]
:: ข้อมูลทั่วไป ::
:: การบริหาร ::
:: วิชาการ ::
:: งานวิจัย ::
:: หน่วยงาน ::
:: วิธีการเข้าศึกษาใน มก. ::
:: สำหรับสินิต ::
:: สำหรับบุคคลากร ::
:: ข่าวและกิจกรรม ::
:: สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ::
:: นานาสาระ ::
:: เสียงสู่อธิการบดี ::
:: สำนักหอสมุด ::
:: เกษตรศาสตร์ของเรา ::

 

หน้าแรก > สำหรับนิสิต > ระเบียบการศึกษาและข้อบังคับบางประการ


ระเบียบการศึกษาและข้อบังคับบางประการ
ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นิสิตปริญญาตรีทุคคน ต้องปฏิบัติตามระเบียบ "ข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2521"
การยื่นคำร้องต่าง ๆ ของนิสิต ใช้แบบฟอร์มตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งนิสิตสามารถขอแบบคำร้องได้จากห้อง 106 ชั้นล่าง สำนักทะเบียนและประมวลผล การยื่นคำร้องทุกประเภท สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 และนิสิตที่ยังไม่สังกัดสาขาวิชาเอก ให้เสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เมื่ออาจารย์ที่ปรึกษาลงนามเห็นชอบแล้ว ให้นำมายื่นเสนอคคณบดีต่อไป

หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรี ตามหลักสูตรการศึกษาปกติเป็นหลักสูตร 4 ปี ยกเว้นหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตร 6 ปี หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตร 5 ปี นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตรที่จะสมัครเข้าศึกษาต่อชั้นแพทยศาสตร์ที่วิทยาแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า อีก 5 ปี หลักสูตรต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ บางหลักสูตรมีการฝึกงานภาคสนามด้วย

ระบบการศึกษา (Educational System)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใช้ระบบการศึกษาตามหลักสากล โดยคำนึงถึงความเหมาะสม และประโยชน์อันจะบังเกิดขึ้นแก่นิสิตเป็นสำคัญดังนี้ คือ
1. การแบ่งระยะเวลาการศึกษาเป็นทวิภาค (Semester System)
ใน 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา (Two Regular System) ซึ่งเป็นภาคการศึกษาปกติ ในภาคเรียนหนึ่งจะมีเวลาเรียนนานประมาณ 15 สัปดาห์ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยอาจเปิดภาคฤดูร้อน ซึ่งเป็นภาคการศึกษาไม่บังคับเพิ่มขึ้นอีก 1 ภาคการศึกษา ใช้เวลาเรียนประมาณ 6 สัปดาห์ โดยจัดชั่วโมงเรียน (Summer Session) ให้เท่ากับภาคการศึกษา เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตที่สนใจใคร่เรียนรู้ได้ศึกษาเพิ่มเติมอีกด้วย
2. กำหนดเวลาเปิดภาคการศึกษา
ภาคต้น ระหว่างเดือน มิถุนายน-ตุลาคม
ภาคปลาย ระหว่างเดือน พฤศจิกายน-มีนาคม
ภาคฤดูร้อน ระหว่างเดือน เมษายน-พฤษภาคม
3. การวัดปริมาณการศึกษาประจำกระบวนรายวิชาเป็นหน่วยกิต (Credit System)
มหาวิทยาลัยจัดเนื้อหาวิชาที่จะสอนออกเป็นรายวิชา (Course) และกำหนดปริมาณการศึกษาหรือน้ำหนักรายวิชาเป็นหน่วยกิต (Credit) การกำหนดจำนวนหน่วยกิตถือหลักว่ารายวิชาใดที่ใช้เวลาบรรยาย 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในภาคเรียนปกติ ให้ถือว่ามีค่าเป็น 1 หน่วยกิต หรือรายวิชาใดที่ใช้เวลาเรียนในการปฏิบัติทดลอง 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในภาคเรียนปกติ มีค่าเป็น 1 หน่วยกิต ทั้งนี้ 1 ภาคการศึกษาจะใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์

การวัดผลการศึกษา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้ระดับคะแนน (Grade) เป็นตัวแสดงผลการศึกษาของนิสิตในแต่ละรายวิชา (รายละเอียดตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย) เมื่อนิสิตได้ระดับคะแนน F (ตก) ในรายวิชาใดที่เป็นรายวิชาบังคับในหลักสูตร นิสิตจะต้องเรียนซ้ำวิชานั้นเมื่อสอบได้ครบถ้วนทุกลักษณะวิชาและผ่านการฝึกงานภาคสนามตามความต้องการของหลักสูตรแล้วนิสิตจะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อต่อสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อขออนุมัติปริญญาโดยต้องมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมสำหรับรายวิชาทั้งหมดที่เรียนไม่ต่ำกว่า 2.00 และถ้าเรียนครบตามหลักสูตรแล้ว แต่ระดับแต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ถึง 2.00 มีสิทธิขอรับอนุปริญญาได้

วุฒิที่ได้รับเมื่อสำเร็จการศึกษา
ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาตรีของคณะใด จะได้รับปริญญาของคณะนั้น ตามที่สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อนุมัติ ปริญญาตรีแบ่งตามสายวิชาเป็น 5 ประเภท คือ
1. สายวิชาศิลปศาสตร์ ปริญญาตรีเรียกว่า ศิลปศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Art) ซึ่งใช้อักษรย่อว่า ศศ.บ. (B.A.)
2. สายวิทยาศาสตร์ ปริญญาตรีเรียกว่า วิทยาศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Science) ซึ่งใช้อักษรย่อว่า วท.บ. (B.S.)
3. สายวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาตรีเรียกว่า วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Engineering) ซึ่งใช้อักษรย่อว่า วศ.บ. (B.Eng.)
4. สายวิชาศึกษาศาสตร์ ปริญญาตรีเรียกว่า ศึกษาศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Education) ซึ่งใช้อักษารย่อว่า ศษ.บ. (B.Ed.)
5. สายวิชาบริหารธุรกิจ ปริญญาตรีเรียกว่า บริหารธุรกิจบัณฑิต (Bachelor of Business Administration) ใช้อักษรย่อยว่า บธ.บ. (B.B.A.)
เฉพาะสายวิชา 1-5 จะระบุประเภทวิชาหรือสาขาวิชาเอกใส่ใสวงเล็บต่อท้ายชื่อปริญญานั้น ๆ ด้วย เช่น ศศ.บ.(ประวัติศาสตร์) วท.บ.(เศรษฐศาสตร์เกษตร) วศ.บ.(วิศวกรรม ไฟฟ้า) เป็นต้น
6. สายวิชาบัญชี ปริญญาตรีเรียกว่า บัญชีบัณฑิต (Bachelor of Accountancy) ซึ่งใช้อักษรย่อว่า บช.บ. (B.Acc.)
7. สายวิชาสัตวแพทยศาสตร์ ปริญญาตรีเรียกว่า สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Veterinary Medicine) ซึ่งใช้อักษรย่อว่า สพ.บ.(D.V.M.)
8. สายวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาตรีเรียกว่า สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Architecture) ซึ่งใช้อักษรย่อว่า สถ.บ.(B.Arch.)
9. สายวิชาเศรษฐศาสตร์ ปริญญาตรี เรียกว่า เศรษฐศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Economic) ซึ่งใช้อักษรย่อว่า ศ.บ.(B.E.)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา
ตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การลงทะเบียน
แบบคำร้องต่าง ๆ มีหลายประเภทดังนี้
1. ใบคำร้องทั่วไป นิสิตใช้คำร้องนี้ได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่มีแบบคำร้องเฉพาะตามข้อ 2-8 ข้างล่างนี้
2. ใบลาป่วย ลากิจ
3. ใบคำร้อง ขอใบรับรองฐานการศึกษา
4. ใบขอลาพักการศึกษา
5. ใบขอลาออก ใบขอถอนค่าประกันเสียหาย
6. ใบขอจบการศึกษา
7. ใบขอเข้าสาขาวิชาเอก ใบขอเปลี่ยนสาขาวิชาเอก
8. ใบรายงานคะแนน และใบแปลปริญญาบัตร (ขอที่สำนักทะเบียนและ ประมวลผล)

จำนวนหน่วยกิตต่อภาคการศึกษา
ภาคการศึกษาปกติ ไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต ไม่เกิน 22 หน่วยกิต
ถ้าต้องการลงทะเบียนเรียนนอกเหนือจากเกณฑ์นี้ต้องได้รับอนุมัติจากคณบดี

ภาคฤดูร้อน
นิสิตทุกคนที่สนใจเรียนภาคฤดูร้อนลงทะเบียนได้ไม่เกิน 7 หน่วยกิต ถ้าต้องการลงทะเบียนเรียนนอกเหนือจากเกณฑ์นี้ต้องได้รับอนุมัติจากคณบดี

สถานภาพนิสิตและการพ้นสภาพนิสิต

สถานภาพนิสิต
นิสิตปกติคือนิสิตที่ได้ G.P.A. ไม่ต่ำกว่า 2.00
นิสิตรอพินิจคือนิสิตที่ได้ G.P.A. ต่ำกว่า 2.00

การพ้นสภาพนิสิต
- มี G.P.A. ต่ำกว่า 1.50 ยกเว้นนิสิตใหม่ที่เข้าศึกษาเป็นภาคแรก
- มี G.P.A. ต่ำกว่า 1.75 เป็นเวลาสองภาคการศึกษาปกติติดต่อกัน (ยกเว้นภาคการศึกษาภาคแรกของนิสิตใหม่)
- ดำรงสถานภาพนิสิตครบสองเท่าของจำนวนปีการศึกษากำหนดไว้ในหลักสูตร แต่ไม่อยู่ในข่ายที่จะจบการศึกษาได้
- ไม่ลงทะเบียนเรียนให้เสร็จสิ้นภายในสามสัปดาห์ นับแต่วันเปิดการศึกษา
- ไม่ชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาเพื่อรักษาสถานภาพนิสิต ภายใน 15 วัน นับแต่วันเปิดภาคเรียน
- พักการศึกษาโดยไม่ได้รับอนุญาตตามระเบียบข้อบังคับ

รางวัลการเรียนดี
นิสิตจะมีสิทธิได้รับการเรียนดี เมื่อมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมเฉพาะปีการศึกษานั้น 3.50 รายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนต้องไม่เป็นรายวิชาที่เรียนซ้ำ เพราะสอบตกหรือเรียนซ้ำรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนโดยไม่นับหน่วยกิต (Audit) มาก่อนแล้ว นิสิตปีสุดท้ายของแต่ละหลักสูตรไม่อยู่ในข่ายของการได้รับรางวัลเรียนดี

เกียรตินิยม
คุณสมบัติด้านการศึกษาของนิสิตที่จะได้รับปริญญาเกียรตินิยม
- ไม่เคยสอบตกในรายวิชาใดตลอดหลักสูตร
- ไม่เคยเรียนซ้ำรายวิชาใดเพื่อเปลี่ยนแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม (regrade)
- ไม่เคยเรียนซ้ำเพื่อนับหน่วยกิตในรายวิชาที่เคยลงทะเบียนเรียนโดยไม่นับ หน่วยกิตมาก่อน
- ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม 3.5 ขึ้นไป สำหรับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง และ 3.25 ขึ้นไปสำหรับเกียรตินิยมอันดับสอง
- เรียนจบภายในกำหนดเวลาจำนวนปีที่ระบุไว้ในหลักสูตร
ต้องไม่เป็นนิสิตที่ได้รับเทียบรายวิชา ยกเว้นเป็นรายวิชาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมิใช่การเทียบโดยอาศัยการสอบคัดเลือกเข้ามาใหม่หรือการได้รับเลือกเข้ามาใหม่ หรือการได้รับคัดเลือกเข้าศึกษา บัณฑิตที่ได้รับปริญญาเกียรตินิยม มีสิทธิประดับเครื่องหมายเกียรตินิยม

การเรียนภาษาอังกฤษ
ทุกหลักสูตรในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ระบุให้เรียนภาษาอังกฤษ จะกำหนดให้เรียนภาษาอังกฤษอย่างน้อย 9 หน่วยกิต ทั้งนี้ไม่นับรวมวิชา 355111 3 หน่วยกิต ซึ่งเป็นพื้นฐานวิชาแรกในการเรียนภาษาอังกฤษจะเป็นการเรียนโดยไม่ได้หน่วยกิต ผลการเรียนจะระบุเป็นผ่าน (PASS) หรือไม่ผ่าน (NOT PASS)
นิสิตที่เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2531 เป็นต้นไป จะต้องถูกวัดความรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้คะแนนจากการสอบคัดเลือกวิชาภาษาอังกฤษ หรือจาก การทดสอบโดยคณะมนุษยศาสตร์

การขอรับและอนุมัติปริญญา
นิสิตจะขอรับปริญญาได้เมื่อ
- เรียนครบตามหลักสูตรของสาขาวิชา และมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 แต่ถ้าไม่ถึง 2.00 มีสิทธิขอรับอนุปริญญาได้
- ยื่นคำร้องแสดงความจำนงขอรับปริญญาหรืออนุปริญญาภายใน 30 วัน นับจากวันเปิดเรียนของภาคการศึกษาสุดท้ายที่นิสิตคาดว่าจะสอบได้หน่วยกิตครบถ้วนตามหลักสูตร โดยคณบดีจะเป็นผู้พิจารณาเสนอชื่อผู้สมควรได้รับปริญญาหรืออนุปริญญา
- นิสิตไม่มีหนี้สินต่อภาควิชา คณะ หรือมหาวิทยาลัย
- นิสิตเป็นผู้มีความประพฤติที่ไม่ชัดต่อระเบียบของมหาวิทยาลัย
และ
- สภามหาวิทยาลัยจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติปริญญาหรืออนุปริญญา
- พิธีประสาทปริญญาจะมีปีละ 1 ครั้ง
โดยปกติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะมีพิธีพระราชทานปริญญาบัตรในเดือนกรกฎาคมของทุกปี

การเรียนโดยไม่นับหน่วยกิต (AUDIT)
- ใช้ระเบียบการลงทะเบียนและการเรียนตามปกติ
- วิชาที่มีปฏิบัติการ (Lab) จะทำหรือไม่ ขึ้นกับอาจารย์ประจำวิชา
- ไม่นับหน่วยกิตรวมในหลักสูตร
- ต้องใส่คำว่า "Audit" ไว้ในช่องประเภทการลงทะเบียน
- ไม่ถือเป็นรายวิชาบังคับก่อน (Prerequisite)
- ผลการศึกษาเป็น S หรือ U

การเรียนซ้ำเพื่อยกระดับคะแนน (REGRADE)
- ต้องเป็นรายวิชาที่ได้แต้มคะแนนต่ำกว่า 2.00 (ได้เกรดต่ำกว่า C)
- การคิดแต้มคะแนนเฉลี่ยสะสม ต้องคิดทั้งคะแนนเดิมและคะแนนใหม่
- ในภาคการศึกษาที่จะขอเรียนซ้ำนั้น นิสินต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาอื่น ๆ ในหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต ยกเว้นในกรณีที่จะจบการศึกษา
- ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาทุกรายวิชา

ระเบียบการเรียน
- ต้องเรียนติดต่อกันทุกภาคการศึกษาปกติ ยกเว้นได้รับการอนุมัติให้ลาพัก การศึกษาชั่วคราวจากคณบดี
- ต้องสอบไล่ได้ทุกรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนไว้ ถ้าสอบตกรายวิชาเลือกเสรี อาจจะเลือกรายวิชาอื่นทดแทนได้โดยได้รับอนุมัติจากคณบดี
- ต้องเรียนในมหาวิทยาลัยไม่ต่ำกว่า 4 ภาคการศึกษาปกติ และใช้เวลาทั้งหมดไม่เกิน 2 เท่า ของจำนวนปีการศึกษาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ต้องสอบไล่ได้ครบรายวิชาและหน่วยกิตในหลักสูตรและได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 จึงจะมีสิทธิ์ขอรับปริญญาตรี และต้องได้ไม่ต่ำกว่า 3.00 จึงจะมีสิทธิ์ขอรับปริญญาโทหรือปริญญาเอก
- ถ้าเรียนตกวิชาบังคับก่อน (prerequisite) จะลงทะเบียนเรียนรายวิชาต่อเนื่องได้เมื่อลงรายวิชาบังคับก่อนที่สอบตกนั้นควบคู่กับรายวิชาต่อเนื่อง และถ้าสอบตกรายวิชาบังคับก่อน การลงทะเบียนรายวิชาบังคับต่อเนื่องจะถือเป็นโมฆะ
- ถ้าขาดเรียนวิชาใดโดยไม่ได้รับอนุญาตเกินร้อยละ 20 ของเวลาเรียนทั้งหมด จะหมดสิทธิ์เข้าสอบไล่ และถือว่าสอบตกวิชานั้น

ระเบียบการสอบ
- การสอบทุกครั้งนิสิตต้องเข้าสอบตามวันเวลาและสถานที่ที่อาจารย์ประจำวิชากำหนดไว้
- ถ้านิสิตไม่สามารถเข้าได้ด้วยเหตุจำเป็น ต้องยื่นคำร้องผ่านอาจารย์ประจำวิชา ภายในเจ็ดวัน และจะต้องสอบให้เสร็จภายในเวลาสามสิบวันนับจากวันที่ไม่ได้เข้าสอบ ทั้งนี้นิสิตต้องชำระค่าธรรมเนียมการสอบชดเชยหน่วยกิตละ 20 บาท
- การสอบทุกครั้งนิสิตต้องใช้กระดาษสอบที่อาจารย์ประจำวิชาจัดให้ และจะนำ กระดาษข้อสอบออกจากห้องสอบมิได้
- นิสิตต้องปฏิบัติตามระเบียบการสอบจากคำชี้แจงของอาจารย์ผู้ควบคุมการสอบ การทำการทุจริต หรือส่อทุจริตในการสอบด้วยวิธีใดก็ตาม ถือว่าสอบตกในรายวิชานั้น
- การส่อทุจริตในการสอบ เช่น การไม่ปฏิบัติตามระเบียบการสอบ หรือคำชี้แจงของอาจารย์ผู้ควบคุมการสอบ นำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอบเข้าไปในห้องสอบจะโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตามระดับโทษ คือพักการศึกษา 1 ภาคการศึกษา
- การทำการทุจริตในการสอบ เช่น นำเอกสารทุกชนิดเกี่ยวกับวิชาที่สอบไปใช้ คัดลอกในการสอบ คัดลอกคำตอบผู้อื่น ให้ผู้อื่นคัดลอกคำตอบของตน เข้าสอบแทนกัน ระดับโทษ คือ พักการศึกษา 1 ปีการศึกษา ผู้ที่กระทำผิดเป็นครั้งที่ 2 มีโทษสถานเดียวคือให้ออก

การยกเว้นค่าหน่วยกิต
1. สอบได้ 5A ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต นิสิตที่สอบได้ระดับคะแนน A อย่างน้อย 5 รายวิชา และมีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต จะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตในภาคการศึกษาปกติ ภาคถัดไป (ภาคฤดูร้อนไม่ยกเว้นให้) โดยนิสิตต้องขอตรวจสอบและประทับตรา "ยกเว้นค่าหน่วยกิต" ในบัตรลงทะเบียนเรียน (KU1) ก่อนจะชำระเงินค่าธรรมเนียม
2. นิสิตที่มีคุณสมบัติตามระเบียบว่าด้วยการเสริมสร้างค่านิยมที่ดีของนิสิต ตามข้อ 5 ของระเบียบว่าด้วยการเสริมสร้างค่านิยมที่ดีของนิสิต พ.ศ. 2537 นิสิตซึ่งมีคุณสมบัติหรือได้แสดงความสามารถดีเด่นในด้านต่าง ๆ จะได้รับการประกาศเกียรติคุณ ยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา หรือได้รับรางวัลอื่นตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ทั้งนี้จะมีคณะกรรมการประเมินผลการคัดเลือกนิสิต ซึ่งแต่งตั้งโดยอธิการบดีเพื่อพิจารณาคุณสมบัติและความสามารถในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. การเรียน
2. ผลงานความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
3. กิจกรรมนอกหลักสูตร
4. กีฬา
5. ความประพฤติ

การลา
การลามี 3 ประเภท คือการลาป่วยหรือลากิจ การลาพักการศึกษา และการลาออก
1. การลาป่วยหรือลากิจ
- ให้ยื่นใบลาต่ออาจารย์ที่ปรึกษาทุกครั้ง
- การลาป่วยติดต่อกันเกิน 15 วัน ต้องมีใบรับรองแพทย์แนบมาด้วย และ การลาที่ติดต่อกันเกิน 15 วัน ต้องมีใบหนังสือรับรองของผู้ปกครองแนบมาด้วยทุกครั้ง
- อาจารย์ที่ปรึกษาอนุญาตให้ลาได้ครั้งละไม่เกิน 3 วัน หัวหน้าภาควิชาอนุญาต
ให้ลาได้ไม่เกิน 7 วัน นอกเหนือจากนี้เป็นอำนาจของคณบดี
- เมื่อได้รับอนุญาตให้ลาแล้ว นิสิตต้องนำหลักฐานไปแสดงต่อสำนักทะเบียนและประมวลผล เพื่อแจ้งอาจารย์ประจำวิชาต่อไป
2. การลาพักการศึกษา
- นิสิตจะขอลาพักการศึกษาได้เมื่อ
1. ถูกเกณฑ์หรือระดมเข้ารับราชการทหาร
2. ได้รับทุนแลกเปลี่ยนนิสิตระหว่างประเทศ หรือทุนอื่นใดที่มหาวิทยาลัยเห็นควรสนับสนุน
3. ประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วย จนไม่สามารถศึกษาต่อได้
- ให้ยื่นใบลาพร้อมด้วยหลักฐาน และคำรับรองของผู้ปกครองเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อเสนอขอนุญาตต่อคณบดีต่อไป
- ขอลาพักได้ครั้งละไม่เกิน 2 ภาคการศึกษาปกติ
- นิสิตที่ลาพักตามข้อ 2 และ 3 ต้องชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาเพื่อรักษาสถานภาพการเป็นนิสิต
- เมื่อจะกลับเข้าศึกษาจะต้องยื่นคำร้องต่อสำนักทะเบียนและประมวลผลภายใน 2 สัปดาห์ก่อนวันเปิดภาคเรียน
3. การลาออก
- ต้องยื่นใบลาพร้อมหนังสือรับรองของผู้ปกครอง และใบปลอดหนี้ต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อเสนอคณบดีอนุมัติต่อไป
เธซเธกเธฒเธขเน€เธซเธ•เธธ เมื่อนิสิตไม่ต้องการเรียนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อีกต่อไป ควรมายื่นใบลาออก ให้ถูกต้องเพื่อจะได้ไม่มีชื่อถูกคัดออกจากมหาวิทยาลัย

วินัยนิสิต
- นิสิตต้องปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของมหาวิทยาลัยโดยเคร่งครัด
- นิสิตต้องปฏิบัติตามหลักศีลธรรม และวัฒนธรรมของสังคมไทยในทุกโอกาส
- นิสิตต้องละเว้นการประพฤติใด ๆ ที่นำมาหรืออาจนำมาซึ่งความเสียหายแก่ตนเองและมหาวิทยาลัย
- นิสิตต้องรักษาความสามัคคีในหมู่คณะ
- นิสิตจะต้องไม่เสพสุราหรือสิ่งเสพติดใด ๆ จนครองสติไม่อยู่ และเป็นสาเหตุให้เสื่อมเสียแก่ตนเอง ผู้ปกครองและมหาวิทยาลัย
- นิสิตไม่พกอาวุธ หรือระเบิดเมื่ออยู่ในมหาวิทยาลัย
- นิสิตไม่ก่อเรื่องวิวาทกับผู้ใดทั้งภายนอกและในมหาวิทยาลัย
- นิสิตไม่เล่นการพนันทุกประเภทในมหาวิทยาลัย
- นิสิตไม่จัดสิ่งพิมพ์หรือสื่ออื่นใด ๆ อันอาจจะกระทบกระเทือนผู้อื่น ออกเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัย
- นิสิตไม่จัดการประชุมหรือการชุมนุมใด ๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจาก รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต
- นิสิตไม่ทำลายทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย
- นิสิตไม่มีสิ่งของผิดกฎหมายไว้ในครอบครอง
- นิสิตไม่ประพฤติตนเป็นอันธพาล
- นิสิตต้องแสดงบัตรประจำตัวนิสิตได้ทันทีเมื่อเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ
- นิสิตต้องแจ้งให้มหาวิทยาลัยทราบทันทีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสำมะโนครัวหรือ ที่พักอาศัย

การลงโทษทางวินัย
การลงโทษนิสิตที่กระทำผิดทางวินัยมี 9 สถาน
1. ตักเตือน
2. ภาคทัฑ์หรือทำทัณฑ์บน
3. ให้ชดใช้ค่าเสียหาย
4. ให้พักการศึกษาตั้งแต่ 1 ภาคถึง 3 ปีการศึกษา
5. ระงับการให้ปริญญาและอนุปริญญาไม่เกิน 3 ปีการศึกษา
6. ระงับการออกใบแสดงผลการศึกษาและใบรับรองใด ๆ ไม่เกิน 3 ปีการศึกษา
7. ระงับการออกปริญญาบัตรไม่เกิน 3 ปีการศึกษา
8. ให้ออกในใบแสดงผลการศึกษาว่าถูกให้ออกจากการศึกษาหรือ "dismissed"
9. ไล่ออกโดยระบุในใบแสดงผลการศึกษาว่าไล่ออกหรือ "dishonorably expelled"
Kasetsart University of Thailand
หน้าแรก || ค้นหาข้อมูล || ติดต่อ
Copyright (C) 2002. Kasetsart University
Revised : June, 2002
Contact WebMasTeR of Kasetsart University